|
  |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว มีราษฎรอพยพมาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของหมู่บ้านในปัจจุบัน และเรียกหมู่บ้านนี้ว่าบ้านหนองไม้
ต่อมาได้ขยายการทำมาหากิน ออกไปทางทิศใต้ตามฝั่งแม่น้ำยม และห่างจากหมู่บ้านประมาณ 500 เมตร ชาวบ้านที่ไปทำนาที่นั่น
ได้พบก้อนผาดำใหญ่ก้อนหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแร้งยืน อ้าปาก ชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นและตั้งชื่อว่าวัดท่าแร้ง แต่กาลต่อมาอาจเป็นเพราะว่า
ชาวบ้านพูดอักขระไม่ชัดเจน จึงทำให้การเขียนของผู้ไม่รู้ความหมายเดิมผิดไปจากคำว่าทุ่งแร้ง ผิดเพี้ยนเป็นทุ่งแล้ง จนถึงปัจจุบัน |
|
|
 |
|
ตำบลทุ่งแล้งเป็นหนึ่งใน 9 ตำบลของอำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ทั้งหมด 224 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 140,000 ไร่
ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอลอง ประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นพื้นที่การเกษตรจำนวน 17,352 ไร่ |
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 7,242 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 3,653 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.44 |

 |
หญิง จำนวน 3,589 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.56 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,584 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 32.33 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลปากกาง |
อำเภอลอง |
จังหวัดแพร่ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลแม่ป้าก |
อำเภอวังชิ้น |
จังหวัดแพร่ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลแม่ปาน |
อำเภอลอง |
จังหวัดแพร่ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบ่อเหล็กลอง |
อำเภอลอง |
จังหวัดแพร่ |
|
|
|
|
|
    |
|
|
 |
|
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลทุ่งแล้งโดยทั่วไป ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและ
ป่าไม้ พื้นที่ราบมีประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบล มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำยมไหลผ่านทุกหมู่บ้านในตำบลแบ่งตำบลทุ่งแล้ง
ออกเป็น 2 ฝั่ง ตลิ่งแม่น้ำยมมีลักษณะสูงชันทางทิศตะวันตกมี 2 หมู่บ้านประกอบด้วยบ้านทุ่งแล้ง หมู่ที่ 2 และบ้านปากจอกตะวันตก หมู่ที่ 4
มีภูเขาล้อมรอบทุกด้าน |
|
|
 |
|
ลักษณะภูมิอากาศของทุ่งแล้ง แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังเช่นพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดแพร่ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน
อุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายนประมาณ 35-38 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกและฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่
เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศเย็น แต่ไม่ถึงกับหนาว อุณหภูมิต่ำสุด อยู่ในเดือนธันวาคม ประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ได้รับ
อิทธิพลจากลมมรสุมตามฤดูกาล |
|
|
|
|
 |
|
พื้นที่ของตำบลทุ่งแล้ง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขา เหมาะแก่การทำการเกษตร อาชีพที่สำคัญมีดังนี้ |

 |
ด้านปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโคเนื้อ สุกร ปลาและสัตว์อื่นๆ |

 |
ด้านเกษตร พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำการเกษตร เช่น ข้าว สัก ส้ม ยางพารา เงาะ ลองกอง
อ้อย กล้วย มันสำปะหลัง เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าว ส้มและข้าวโพด ที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรในพื้นที่ |

 |
ด้านอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กคือ โรงงานตอกไม้ซางทำไม้เสียบลูกชิ้น และไม้ตะเกียบ
พื้นที่ตำบลทุ่งแล้งมีสถานที่ตั้งของ สาขาย่อยสหกรณ์การเกษตรอำเภอลอง เพื่อรับชื้อผลผลิตทางการเกษตร จากเกษตรกร |
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านศรีดอนไชย |
249 |
230 |
479 |
178 |
|
 |
2 |
|
บ้านทุ่งแล้ง |
353 |
373 |
726 |
242 |
 |
|
3 |
|
บ้านปากจอก |
277 |
277 |
554 |
175 |
|
 |
4 |
|
บ้านปากจอกตะวันตก |
298 |
301 |
599 |
239 |
 |
|
5 |
|
บ้านอ้ายลิ่ม |
399 |
351 |
750 |
294 |
|
 |
6 |
|
บ้านผาจั๊บ |
340 |
338 |
678 |
257 |
 |
|
7 |
|
บ้านวังเลียง |
394 |
369 |
763 |
297 |
|
 |
8 |
|
บ้านหาดผาคัน |
137 |
110 |
247 |
130 |
 |
|
9 |
|
บ้านใหม่ปากจอก |
324 |
345 |
669 |
214 |
|
 |
10 |
|
บ้านศรีดอนไชย |
369 |
363 |
732 |
215 |
 |
|
11 |
|
บ้านปากจอก |
229 |
259 |
488 |
137 |
|
 |
12 |
|
บ้านทุ่งทอง |
284 |
273 |
557 |
206 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
3,653 |
3,589 |
7,242 |
2,584 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|